ส่องสถานการณ์ แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2568

ส่องสถานการณ์ แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2568

ธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย นับว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่ขยายกำลังและศักยภาพมากขึ้นอย่างทวีคูณ กระแสการซื้อ-ขายแฟรนไชส์มีจำนวนมากเรื่อย ๆ ในมุมผู้บริโภคก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้ชีวิตมาก ในมุมนักธุรกิจมือใหม่ก็ถือว่าน่าลงทุนไม่น้อย แล้วในปี 2568 นี้ ธุรกิจแฟรนไชส์จะยังน่าลงทุนอยู่ไหมสำหรับผู้ที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ

ธุรกิจแฟรนไชส์ คืออะไร

ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Business) คือ รูปแบบการทำธุรกิจอย่างหนึ่งที่ประกอบไปด้วย แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor) มักเรียกว่า ผู้ให้สิทธิ์ / ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ อาจมาในรูปแบบเจ้าของร้านหรือบริษัทแม่ และ แฟรนไชส์ซี (Franchisee) มักเรียกเข้าใจง่าย ๆ ว่า ผู้รับสิทธิ์ / ผู้ซื้อกรรมสิทธิ์ อาจมาในรูปแบบนักลงทุน นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ โดยที่หลักการของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ การที่แฟรนไชส์ซอร์ หรือผู้เป็นเจ้าของกิจการเดิม ให้กรรมสิทธิ์แก่แฟรนไชส์ซี หรือ ผู้รับสิทธิ์ ไปดำเนินกิจการเดียวกันและใช้เครื่องหมายการค้าเหมือนกัน เช่น ชื่อร้าน สี สินค้า สูตรอาหารหรือเครื่องดื่ม รูปแบบบริการและการอบรม เป็นต้น มักทำธุรกิจภายใต้สัญญาที่กำหนด

 

ฉะนั้น การทำธุรกิจแฟรนไชส์อาจเป็นได้ทั้งเจ้าของธุรกิจขยายสาขาด้วยตนเอง และ การที่เจ้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซอร์ เปิดขายกิจการรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุน/นักธุรกิจมือใหม่ ลงทุนในธุรกิจเดียวกันกับตน โดยที่เจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจมาให้ หรือเข้าใจได้อีกอย่างว่า “เป็นการขายสูตรสำเร็จ” ที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าดีและมีแนวโน้มจะประสบผลสำเร็จสูง จึงทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีข้อดีและข้อได้เปรียบมากกว่าการเปิดธุรกิจด้วยตนเอง

 

ตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ที่พบเจอได้ในปัจจุบัน เช่น แฟรนไชส์กาแฟชาวดอย เซเว่นอีเลเว่น แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก เป็นต้น

อัปเดตสถานการณ์ แนวโน้มการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2568

อัปเดตสถานการณ์ แนวโน้มการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2568

ในปี 2568 กระแสการทำธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังไม่มีท่าทีว่าจะเสื่อมความนิยมลงเลยแม้แต่น้อย แถมยังมีแนวโน้มจะขยายอำนาจและศักยภาพทางธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิม สถิติจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย “เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ในทุกปี ภาพรวมในปี 2566 พบว่าภาคส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยสามารถทำมูลค่าทั้งหมดไปได้ประมาณ 119 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2565 ถึง 10.33 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ปี 2567 กลับมาแรงกว่า ด้วยมูลค่าที่แตะถึง 300 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2566 ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขในสถิตินี้ชี้ชัดเลยว่า แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ของไทย ยังคงร้อนแรงและมีกระแสเชิงบวกที่ทวีคูณอย่างมหาศาลทุกปี รวมถึงปี 2568 นี้ มูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นและเติบโตจนมีจำนวนธุรกิจในจำนวนที่มากขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจอีกว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเป็นแฟรนไชส์กลุ่มใหญ่ที่ทำรายได้และสร้างมูลค่าสูงที่สุดมาเสมอ เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมาก ตอบโจทย์ทั้งนักลงทุนและผู้บริโภค รวมถึงยังคงกระแสความร้อนแรงเป็นที่ 1 แห่งวงการธุรกิจแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับในปี 2568
ขณะเดียวกัน เทรนด์แฟรนไชส์มาแรงและน่าลงทุนประจำปี 2568 ยังคงมีให้เลือกในหลากหลายประเภท เช่น แฟรนไชส์ด้านบริการสำหรับคนและสัตว์เลี้ยง แฟรนไชส์บริการด้านสุขภาพและความงาม แฟรนไชส์บริการผู้สูงอายุ แฟรนไชส์ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล เป็นต้น

คนทำแฟรนไชส์ต้องรู้สิ่งนี้ ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์

เงินลงทุน

 

สิ่งแรกที่นักธุรกิจแฟรนไชส์มือใหม่ควรคำนึงถึง นั่นก็คือ “เงินลงทุน” หรืองบประมาณ เพราะปัจจุบัน แฟรนไชส์แต่ละธุรกิจจะมีตัวเลือกการลงทุนที่หลากหลายตามขนาดธุรกิจ นักลงทุนควรพิจารณาและเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับงบประมาณที่มี พิจารณาผลประโยชน์ให้สอดคล้องกัน และต้องไม่ลืมว่า แต่ละแฟรนไชส์จะมีค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ หรือ ค่าปันผลตามผลประกอบการ หรือ ค่าการตลาด เป็นต้น ฉะนั้น เงินลงทุนสำรองทั้งสำหรับรายจ่ายยิบย่อยและสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงจำเป็นต้องนำมาคำนวณในเงินลงทุนทั้งหมดด้วย


แบรนด์

 

ชื่อเสียง คุณภาพและความน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจยั่งยืนได้ในระยะยาว ฉะนั้นการจะตัดสินใจเลือกลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์สักร้าน ผู้ประกอบการควรศึกษาและเข้าใจในแบรนด์ที่เราต้องการจะลงทุน อาจพิจารณาถึงความนิยมในตลาด ชื่อเสียงเชิงบวกหรือลบที่แบรนด์นั้น ๆ เคยมี มาตรฐานที่ควรจะเป็น และจุดเด่นของแบรนด์ที่ทำให้ธุรกิจนั้นโดดเด่นและแตกต่าง

 

ระบบ Support

 

นอกจากเงินทุนและชื่อเสียงแบรนด์ผู้เป็นเจ้าของ ควรพิจารณาลงทุนกับแฟรนไชส์ที่มีระบบหลังบ้านพร้อมสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา ไม่ทิ้งไม่หนีหายยามมีปัญหา เพราะต้องไม่ลืมว่าทุกการดำเนินธุรกิจมักมีอุปสรรคและปัญหาอยู่เสมอไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เจ้าของแฟรนไชส์ควรมีระบบสนับสนุนทั้งการปรึกษาธุรกิจ การตลาดและการแก้ไขปัญหาตลอดระยะเวลาที่ถือสัญญา

 

ทีมงานแฟรนไชส์ซอร์

 

การเลือกแฟรนไชส์ที่ดี ต้องพิจารณาที่ทีมงานของแฟรนไชส์นั้น ๆ ด้วยเสมอ เพราะนั่นจะแสดงถึงความเป็นมืออาชีพและนำพาเราไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จได้ หลัก ๆ แล้วแฟรนไชส์ที่ดีที่น่าลงทุน ควรมีทีมสนับสนุนอย่างชัดเจน เช่น ทีมมาร์เก็ตติ้งที่เชี่ยวชาญการทำตลาด ทีม R&D คอยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างมีคุณภาพ และ ทีม Business ผู้ที่จะคอยให้คำปรึกษาการดำเนินธุรกิจได้อย่างตรงจุด รับมือและแก้ไขปัญหาการทำธุรกิจได้ เป็นต้น

 

ประเภทแฟรนไชส์


แม้ภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์ได้จะรับความนิยมสูงอยู่แล้ว แต่หากอยากประสบความสำเร็จไวหรือดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างยาวนาน ควรพิจารณาเลือกแฟรนไชส์ตามประเภทที่ตนเองสนใจและเหมาะสมกับความต้องการให้มากที่สุด ซึ่งแฟรนไชส์ประเภท Business Format หมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่ม คือธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นกระแสมาแรงที่สุดในปัจจุบัน

 

ทำเลที่ตั้ง

 

ธุรกิจจะไปได้ดี ทำเลมีส่วนสูงมาก! การเปิดธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีหน้าร้านสักร้าน การเลือกหาทำเลที่ตั้งถือเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ควรคำนึงเลยทีเดียว เพราะแฟรนไชส์แต่ละประเภทจะเหมาะกับทำเลที่ต่างกัน แปรผันไปตามสินค้าและบริการที่มีเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าตรงเป้าหมาย เช่น แฟรนไชส์ร้านกาแฟ ก็ควรเลือกทำเลในเขตชุมชนหรือตามเขตธุรกิจที่มักมีคอกาแฟอาศัยอยู่ อาจจัดในสเกลที่เล็กกะทัดรัด สำหรับ takeaway only ในเขตธุรกิจที่ต้องการความเร่งรีบ หรือ ขนาดกลางถึงใหญ่สำหรับร้านนั่งดื่มในเขตชุมชนและสถานศึกษา เพื่อรองรับการนั่งทานในร้าน เป็นต้น

 

เวลา

 

“เวลาและความรับผิดชอบ” คือตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ฉะนั้น ผู้ลงทุนควรให้เวลาแก่การดำเนินธุรกิจ ไม่เร่งรัดและหมั่นใส่ใจ รับผิดชอบต่อหน้าที่ในการบริหาร ถึงแม้จะสามารถจ้างพนักงานให้มาทำหน้าที่แทนได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าการบริหารหลังบ้านยังเป็นหน้าที่สำคัญของนักลงทุนที่ต้องจัดการอยู่ ทางที่ดีควรเลือกแฟรนไชส์ลงทุนให้เหมาะสมกับความชอบและแพชชั่นของตัวเอง

ธุรกิจแฟรนไชส์กับตลาดธุรกิจไทยยังคงไปได้ดีมากในปัจจุบันและยังมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี เจ้าแห่งวงการอย่าง แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม ก็ยังคงความฮอตต่อไปในปีนี้ นอกเหนือจากแนวคิดก่อนตัดสินใจจะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์แล้ว อีกสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือตัวช่วยทางธุรกิจ แม้จะเป็นสิ่งของเล็ก ๆ แต่ก็สามารถสร้างแรงอิมแพ็คได้มหาศาล เช่น สติ๊กเกอร์ความร้อนจาก ATCO ไอเท็มผู้ช่วยที่เป็นมิตรต่อคนทำธุรกิจสมัยใหม่และพาธุรกิจให้เป็นมืออาชีพได้แม้จะใหม่เรื่องบริหาร