25 พ.ย. ผู้ประกอบการต้องรู้ 5 ข้อควรระวังในการทำธุรกิจแฟรนไชส์
กระแสการทำธุรกิจแฟรนไชส์ยังคงเป็นที่นิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่แค่นิยมเฉพาะกลุ่มนักลงทุนเท่านั้น แต่ในหมู่ผู้ประกอบการร้านค้าแบรนด์ไทยก็หันมาสนใจขยายสาขาแบบธุรกิจแฟรนไชส์กันมากยิ่งขึ้น ในแง่ดีที่เป็นกระแสแบบไม่มีท่าที่จะแผ่วลง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อยากเปิดธุรกิจแฟรนไชส์ก็ยังคงมีข้อพึงระวังในการทำธุรกิจประเภทนี้อยู่
ธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร มีลักษณะอย่างไร
ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Business) เป็นรูปแบบธุรกิจชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยนักธุรกิจอยู่ 2 ฝ่าย ได้แก่ เจ้าของกิจการ หรือ เจ้าของแบรนด์ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สินค้าและบริการนั้น ๆ ในวงการแฟรนไชส์จะเรียกว่า “แฟรนไชส์ซอร์ (Franchisor)” และผู้ประกอบการหรือนักลงทุน ผู้มาลงทุนหรือขอซื้อสิทธิ์ในการดำเนินกิจการจากเจ้าของแฟรนไชส์ เรียกว่า “แฟรนไชส์ซี (Franchisee)” โดยการดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ นักลงทุนหรือผู้ประกอบการที่สนใจในกิจการนั้น ๆ จะจ่ายเงินเพื่อซื้อกรรมสิทธิ์ร้านค้า สินค้า และบริการจากเจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งทางแฟรนไชส์ซอร์ จะให้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้าทั้งชื่อ โลโก้ สี และแบรนด์ดิ่งต่าง ๆ อาจรวมถึงวัตถุดิบและสินค้าของแบรนด์ในระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้แฟรนไชส์ซอร์อาจมีจัดอบรมพนักงาน ฝึกฝนทักษะสายอาชีพ รูปแบบก่อสร้างร้าน หรือ แผนทางการตลาดร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสิทธิประโยชน์ที่ทางเจ้าของกิจการจะมอบให้แก่นักลงทุน
การลงทุนในลักษณะธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีข้อได้เปรียบตรงที่กิจการร้านค้าที่เปิดขยายธุรกิจแฟรนไชส์มักเป็นธุรกิจที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งและมีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการของตลาด
ข้อดีของการทำธุรกิจแฟรนไชส์
โดดเด่นเรื่องการตลาด
ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมีระบบการตลาดเสริมมาให้ในตัวโดยที่นักลงทุนไม่ต้องทำการตลาดด้วยตนเอง บริษัทแม่หรือเจ้าของแบรนด์มักมีทีมงานด้านการตลาดที่เชี่ยวชาญคอยทำงานอยู่เบื้องหลัง มีแคมเปญทางการตลาดหลักที่สนับสนุนกิจการแฟรนไชส์ให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน และมักมีการโปรโมตลงสื่อโซเชียลของบริษัทแม่ ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
ลดความเสี่ยงในการลงทุน
ธุรกิจแฟรนไชส์มักเป็นกิจการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ฉะนั้น การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเปิดกิจการด้วยตัวเองตั้งแต่แรกเริ่ม และมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จได้ไวขึ้นและดำเนินกิจการได้ในระยะยาว
ได้สิทธิพิเศษในการลงทุน
อีกหนึ่งจุดแข็งของธุรกิจแฟรนไชส์ คือการที่คุณไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ แถมยังมีสิทธิพิเศษที่ได้รับจากการลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทักษะสายอาชีพติดตัว บางบริษัทมักมีอบรมพนักงาน สอนงานเป็นประจำในหลากหลายแง่มุม ทำให้เราและลูกจ้างจะได้เรียนรู้ทักษะการทำธุรกิจและการทำงานจากประสบการณ์ของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จโดยตรง
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ
เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์จะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายคอยให้การสนับสนุนอยู่เสมอ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายลงทุน ฝ่ายดำเนินธุรกิจ ที่จะคอยสอนและประเมินความเสี่ยงตลอดระยะถือสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ นักลงทุนหรือแฟรนไชส์ซีจึงไม่จำเป็นต้องเก่งหรือมีประสบการณ์การทำธุรกิจมาก่อน ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจรูปแบบแฟรนไชส์ได้ทันที
ได้ความสำเร็จของแบรนด์
ธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มักเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ติดตลาดและมักมีฐานลูกค้าประจำ (Loyalty Customer) อยู่ก่อนแล้ว การที่ผู้ประกอบการซื้อสิทธิ์ธุรกิจแฟรนไชส์ไปบริหาร จะได้ผลประโยชน์จากชื่อเสียงและความสำเร็จของแบรนด์ ทำให้มีฐานลูกค้าเร็วและได้รับผลกำไรคืนไวขึ้น
ข้อเสียของการทำธุรกิจแฟรนไชส์
ไม่มีอิสระในการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์
เพราะธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องดำเนินตามรูปแบบภายในบริษัทเจ้าของกิจการหรือแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้นนักลงทุนหรือแฟรนไชส์ซีจึงมีอิสระในการบริหารที่จำกัดมาก เรียกได้ว่าต้องดำเนินกิจการภายใต้เงื่อนไขและแบบแผนที่แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้กำหนด บางบริษัทจะมีรายละเอียดทั้งการบริการและวัตถุดิบสินค้าที่ต้องใช้ แฟรนไชส์ซีจะไม่สามารถเรียกซื้อได้ตามที่ชอบหรือสะดวกได้
ผลกระทบของแบรนด์
ธุรกิจแฟรนช์ไชส์จะใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าในรูปแบบเดียวกัน หากมีสาขาใดสาขาหนึ่งที่ทำผิดพลาดหรือกระทำการใดจนเป็นดราม่าต่อสังคมขึ้นมา ร้านแฟรนไชส์อื่น ๆ ก็มีสิทธิ์ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ หากเกิดกรณีแบนสินค้าและบริการขึ้นมาก็นับว่าเป็นผลเสียชิ้นใหญ่ที่แฟรนไชส์ทุกร้านต้องรับมือไปพร้อมกัน
มีโอกาสถูกยกเลิกสัญญา
กฎระเบียบและข้อปฏิบัติในธุรกิจแฟรนไชส์ถือว่าค่อนข้างยิบย่อย หากนักลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ปฏิบัติตามหรือละเมิดกฎที่เจ้าของแฟรนไชส์ตั้งไว้ มีสิทธิ์โดนยกเลือกสัญญาก่อนครบกำหนด ทำให้ถูกถอดจากระบบแฟรนไชส์และระงับการดำเนินธุรกิจได้
มีค่าใช้จ่ายพิเศษเพิ่มเติม
ธุรกิจแฟรนไชส์บางบริษัท ไม่ได้จ่ายค่ากรรมสิทธิ์หรือค่าแรกเข้าแล้วจบ แต่จะมีค่าธรรมเนียมยิบย่อยเพิ่มเติมระหว่างดำเนินกิจการ เช่น ต้นทุนในการก่อสร้างร้านในกรณีที่ต้องก่อตั้งร้านขึ้นมาใหม่ ค่า Royalty Fee หรือค่าการตลาด Marketing Fee ซึ่งแฟรนไชส์แต่ละบริษัทมักมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน
เตรียมตัวอย่างไรก่อนเริ่มทำธุรกิจแฟรนไชส์
สิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่นักลงทุนรุ่นใหม่ควรทำอย่างยิ่งก่อนลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ คือการสำรวจตลาดและเช็กให้ดีว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่เรากำลังลงทุนอยู่นั้นเป็นที่ต้องการของตลาดตอนนี้หรือไม่ กระแสธุรกิจแฟรนไชส์ ณ ปัจจุบัน มีแนวโน้มไปในทิศทางใด เพื่อช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าจะลงทุนไปกับธุรกิจอะไรดีที่สุด
สิ่งถัดมาต้องไม่ลืมสำรวจงบประมาณที่มีของตัวเองเสมอ เพราะธุรกิจแฟรนไชส์สมัยนี้ ไม่จำเป็นต้องมีเงินก้อนใหญ่ก็สามารถลงทุนได้ และควรเลือกลงทุนในธุรกิจที่เหมาะสมกับงบประมาณของตัวเองจะดีที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาทางการเงินในอนาคตและยังช่วยให้เราดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่นปลอดภัย
แม้การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก่อน แต่การศึกษาข้อมูลล่วงหน้าแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เรามีความพร้อมอยู่เสมอในการลงทุนและทำธุรกิจ ยิ่งเราศึกษาได้ละเอียดเท่าไหร่ ก็จะเป็นผลได้เปรียบเท่านั้น เพราะจะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้ไวขึ้นและก้าวสู่ความสำเร็จได้ไวขึ้นอีกด้วย
ประโยคที่ว่า “ทำเลดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” นั้นยังใช้ได้เสมอ ในธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้น ควรเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทนั้น ๆ จะเป็นผลดีที่สุด เช่น หากทำแฟรนไชส์ร้านกาแฟก็ควรมีทำเลใกล้แหล่งชุมชนหรือแหล่งทำงาน เพื่อให้ลูกค้าสามารถพบเจอและใช้บริการที่ร้านได้อย่างสะดวกเป็นประจำ
ธุรกิจแฟรนไชส์มีข้อเสนอและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน บางบริษัทมีให้บริการแฟรนไชส์ในหลายรูปแบบหลายขนาดธุรกิจ ดังนั้น นักลงทุนควรสำรวจข้อเสนอ ข้อจำกัดและข้อปฏิบัติให้ถี่ถ้วนเพื่อให้ตรงต่อความต้องการทำธุรกิจของเราเอง รวมถึงอย่าลืมที่จำตรวจสอบค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ว่าต้องจ่ายไปกับอะไรบ้าง จ่ายเมื่อไหร่ ตอนไหน ระหว่างดำเนินธุรกิจต้องมีจ่ายหรือไม่ เพื่อวางแผนทางการเงินในอนาคต
การดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ล้วนมีทั้งข้อดีข้อเสียและข้อที่ควรพึงระวังเอาไว้เสมอในการทำธุรกิจ ในเมื่อระบบธุรกิจแฟรนไชส์มักมีทีมผู้ช่วยให้เราทำธุรกิจได้ง่ายขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการอย่างเรา ๆ ก็ควรมีตัวช่วยทางธุรกิจเสริมไปด้วย อย่างเช่น สติ๊กเกอร์ความร้อน และกระดาษความร้อนจาก ATCO ไอเท็มคู่คิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งให้ทำธุรกิจง่ายขึ้น เพราะทั้งสติ๊กเกอร์ความร้อนและกระดาษความร้อนจาก Atco สามารถช่วยให้คุณพิมพ์ใบออเดอร์ แปะใบปะหน้าพัสดุ หรือจะปริ้นต์ QR Code รอคิวให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยกระดาษความร้อนชั้นดี คุณสมบัติกันน้ำ เหนียว ทนทาน มีคุณภาพสูง แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระดาษสติ๊กเกอร์ความร้อนและกระดาษความร้อนจาก Atco จึงจะมาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ ที่จะมาเสริมการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม!
แม้การทำธุรกิจแฟรนไชส์จะไม่ใช่เรื่องยากเกินไปในปัจจุบัน แต่การหมั่นศึกษาและรู้ถึงข้อดีข้อเสียและข้อควรระวังก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเสมอในการทำธุรกิจ เพราะพื้นฐานความรู้ที่มีบวกกับทักษะที่จะได้จากเจ้าของแฟรนไชส์จะช่วยส่งเสริมกันทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราทำนั้นเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น