06 ก.พ. ทำความรู้จักกระดาษความร้อน Thermal Paper อนาคตใหม่ของกระดาษใบเสร็จ
ว่ากันด้วยปี 2024 หากคุณเป็นคนทำธุรกิจไม่ว่าจะประเภทไหน การคำนึงถึงต้นทุนก็ยังคงเป็นอะไรที่สำคัญมาโดยตลอดในสมการของความสำเร็จ และกระดาษใบเสร็จเองก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายสำคัญที่เป็น Fix Cost บทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Thermal Paper กระดาษความร้อน นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มหาศาลแล้ว ยังช่วยให้ทุกธุรกิจได้ใบเสร็จที่มีคุณภาพ
นวัตกรรมที่เรียกว่า ‘กระดาษความร้อน’
ในยุคปัจจุบันที่โลกหมุนให้ธุรกิจร้านค้าไม่ว่าจะขนาดเล็กขนาดใหญ่ วนมาเจอกับระบบการจัดการแบบ POS (Point of Sale) ที่นอกจากจะสร้างยอดขายแล้ว ก็ยังสามารถทำให้คนทำธุรกิจสามารถดูสถิติพร้อมวางกลยุทธ์สู่เป้าได้อย่างแม่นยำ และหนึ่งในสิ่งที่มาคู่กันกับระบบนี้ก็คือ ‘เครื่องพิมพ์ใบเสร็จความร้อน’ (Thermal Printer) อุปกรณ์ที่ทำให้เราไม่ต้องมากังวลว่าหมึกจะหมดจะจนพิมพ์ใบเสร็จ/ใบออเดอร์ไม่ออกกันอีกต่อไป
และสิ่งที่มาคู่กับเครื่องพิมพ์ใบเสร็จชนิดที่เราเล่าไปในบรรทัดก่อนหน้า ก็คือ ‘กระดาษความร้อน (Thermal Paper)’ นี่คือนวัตกรรมใหม่ของกระดาษใบเสร็จ โดยตัวกระดาษจากถูกทำขึ้นเป็นพิเศษด้วยการเคลือบสารเคมีเอาไว้ และใช้ความร้อนที่เหมาะสมสร้างให้เกิดปฎิกริยาทางเคมีในการพิมพ์ให้เกิดสี ตัวอักษร หรืออักขระต่าง ๆ บนกระดาษโดยไม่ต้องพึ่งพาสีจากหมึกริบบอนของเครื่องพิมพ์แบบเก่าอีกต่อไป
กระดาษความร้อนจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ประเภท
Thermal Top Coat : กระดาษความร้อนประเภทที่มีการเคลือบสารปกป้องจากสารละลายประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะน้ำมัน หมึก หรือแอลกอฮอลล์ สร้างความทนของกระดาษทำให้ข้อมูลที่พิมพ์ลงไปอยู่ได้ยาวนานขึ้นก่อนจะเลือนหายไป เรามักจะเจอกระดาษใบเสร็จจากกระดาษความร้อนประเภทนี้ในบิลค่าน้ำ-ไฟประจำเดือน
Non Top Coat : ตรงตามชื่อก็คือกระดาษขั้วตรงข้ามกับชนิดก่อนหน้า กระดาษชนิดนี้จะไม่ทำการเคลือบสารป้องกันจากสารละลาย ทำให้อายุการใช้งานต่อใบเสร็จสั้นกว่า แต่ก็ตามมาด้วยราคาที่ถูกลง เป็นกระดาษที่ห้างสรรพสินค้านิยมใช้กัน
ความแตกต่างระหว่างกระดาษความร้อนและกระดาษปอนด์ทั่วไป
ถ้าเปรียบ ‘กระดาษปอนด์’ เป็นนวัตกรรมของยุคเก่า แล้ว ‘กระดาษความร้อน’ ถือเป็นนวัตกรรมของยุคสมัยปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองอย่างนี้มีความต่างมากมายหลากหลายมิติในแบบที่นักธุรกิจหลายคนอาจคาดไม่ถึง
ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดอย่างแรกเลยคือ กระดาษความร้อนไม่สามารถใช้กับเครื่องปริ้นกระดาษปอนด์ที่ใช้หมึกอย่างเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทหรือเครื่องพิมพ์เลเซอร์ และกระดาษปอนด์ก็ไม่สามารถใช้กับเครื่องปริ้นที่เป็น Thermal Printer ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ความร้อนแทนหมึกได้เช่นกัน
ต้องเล่าก่อนว่าองค์ประกอบของกระดาษแบบ Thermal Paper มีหน้าตาประกอบไปด้วยเลเยอร์ทั้ง 3 ชั้นแบบนี้
- Paper Base ชั้นล่างสุดทำจากกระดาษปอนด์ทั่วไปผลิตขึ้นจากเยื่อกระดาษปกติ
- Precoat ชั้นกลางจะเป็นชั้นที่ถูกเติมสารเคมีเพื่อเติมช่องว่างของเนื้อกระดาษให้เต็ม สร้างความเรียบเนียนให้พื้นผิว และทำหน้าที่สำคัญที่สุดคือ การคงสภาพของสีของสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกพิมพ์ลงบนกระดาษให้อยู่ยาวนานที่สุด
- Thermal Coat ชั้นบนสุดของกระดาษความร้อนที่เคลือบสารเคมีอย่าง Leuco dyes , Sensitizers , Developers , Stabilizers เป็นสารที่ทำให้กระดาษเกิดสีเมื่อเกิดความร้อนและคงทนอยู่นาน
ทีนี้สิ่งที่กระดาษความร้อนต่างกับกระดาษปอนด์ทั่วไปในด้านของผิวสัมผัสคือความเรียบลื่นที่มากกว่า มันยิ่งกว่า เพราะฉะนั้นถ้าเอาปากกาเขียนลงไปก็ติดได้ยากมาก ๆ ส่วนกระดาษปอนด์ก็จะค่อนข้างมีผิวที่กระด้างกว่า
การเก็บรักษาของกระดาษความร้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดของมัน ถ้าสมมุติว่าคุณมีกระดาษแบบ Non Top Coat ก็จำเป็นจะต้องเก็บในพื้นที่ที่ไม่มีความชื้น สารเคมี และห่างจากแสงแดดที่ส่งปฏิกิริยาต่อสารเคมีในกระดาษได้ แต่หากเป็นกระดาษ Top Coat ที่แน่นอนว่าคงทนกว่าก็อาจจะไม่ต้องกังวลถึงปัจจัยที่ว่าขนาดนั้น และสำหรับกระดาษปอนด์นั้นต้องบอกว่ามีความทนต่อกระดาษแบบความร้อนยิ่งทำให้เก็บรักษาง่ายขึ้นไปอีก
ข้อดีของกระดาษความร้อน
1. เครื่องปริ้นความร้อนมีขนาดเล็กทำให้พกพาง่าย : เรียกว่าเป็นข้อดีที่มาคู่กับการใช้ระบบแบบ POS คือการที่เครื่องปริ้น Thermal Printer สมัยใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ แล้วขนาดกะทัดรัดเล็กสุดคือแค่ 58 มม. เท่านั้น ! พกพาไปไหนก็สะดวก
2. ไม่ต้องคอยเติมหมึกตลอดเวลา : เครื่องปริ้นแบบ Thermal Printer แก้จุดเจ็บปวดที่เครื่องปริ้นแบบรุ่นเก่าต้องมาคอยเติมหมึกอยู่เรื่อย ทำให้ต้องคอยสต็อกหมึกโดยไม่จำเป็น เสี่ยงต่อธุรกิจในวันไหนที่เกิดหมึกหมดไม่รู้ตัวหรือเกิดปัญหากับเครื่องปริ้นขึ้นมา แล้วผ้าหมึกคือราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
3. ราคาคุ้มค่ากว่า : ต่อจากข้อที่แล้ว เมื่อเราไม่ต้องคอยรีฟิลหมึก การใช้กระดาษความร้อนคู่กับเครื่องปริ้น Thermal Printer จึงช่วยลดต้นทุนและได้ราคาที่ประหยัดกว่ากระดาษปอนด์ที่ต้องเสียทั้งค่ากระดาษและค่าหมึกนั่นเอง
4. ปริ้นได้ง่าย รวดเร็ว สะดวกสบาย : การมีอยู่ของ Thermal Printer & Paper จะช่วยให้ธุรกิจของทุกคนคล่องตัวมากยิ่งกว่าเดิม เพราะพิมพ์ไม่มีสะดุด และสีเข้มตามที่ต้องการทุกครั้ง และที่ดีสุดคือพิมพ์ได้รวดเร็วยิ่งกว่ากระดาษปอนด์มาก ๆ
วิธีการเก็บรักษากระดาษความร้อน
ขึ้นชื่อว่าเป็นกระดาษพิเศษ Thermal Paper ที่เคลือบด้วยสารเคมีอย่างดี ทำให้อายุการใช้งานเริ่มต้นอย่างต่ำของกระดาษชนิดนี้สตาร์ตที่ 5 ปี ! และนั่นหมายถึงว่าเราต้องรู้วิธีเก็บกระดาษชนิดนี้อย่างถูกวิธีด้วย
เก็บ Thermal Paper เอาไว้ในที่มืดเพื่อไม่ให้สัมผัสกับแสง เพราะอย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่ากระดาษชนิด Non Top Coat จะทำปฏิกิริยาทางเคมีจนเกิดความเสียหายทันทีเมื่อกระดาษถูกแสง กับความชื้นเองก็เป็นตัวอันตรายเหมือนกัน ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าห้องที่เราเก็บกระดาษมีความชื้นอยู่ที่ 50 ± 10 % และอุณหภูมิก็ควรจะอยู่ที่ 23 ± 5 องศาเซลเซียส ข้อสุดท้ายคือการหลีกเลี่ยงให้กระดาษสัมผัสเข้ากับวัสดุที่มีผลกระทบต่อเคมี แอลกอฮอล์ น้ำมัน สารทำละลาย หรือรอยนิ้วมือ
สุดท้ายแล้วสำหรับกระดาษความร้อนนอกจากจะต้องเลือกแบบขนาดที่เหมาะสมกับ Thermal Printer ให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ใช้งานแล้ว ก็ต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดด้วย สำหรับ ATCO Thermal Paper ทุกขนาดได้มาตราฐานสเปกตรงตามที่แจ้งเอาไว้ไม่มีหลอกหลวง และมีให้เลือกตั้งแต่ 57×80 หนา 58 แกรม ไปจนถึงขนาด 80×80 หนา 65 แกรม และ ATCO เองก็เข้าใจดีถึงความสำคัญของ Sustainable เราจึงใช้แกนกระดาษรักษ์โลกที่ย่อยสลายง่าย แถมห่อด้วยกระดาษอย่างดีแทนถุงขยะ ไม่มีการสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน